โครงการ 80 พรรษา 880 ฝาย ปูนอินทรีสร้างถวายในหลวง
โครงการ 80 พรรษา 880 ฝาย
ปูนอินทรีสร้างถวายในหลวง
ความเป็นมา / พระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชานุมัติให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) โดยจัดทำ "โครงการ 80 พรรษา 880 ฝาย ปูนอินทรีสร้างถวายในหลวง" เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ทั้งนี้ บริษัท ปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) จะน้อมเกล้าฯ ถวายเงินบริจาคปีละ 9,000,000 บาท (เก้าล้านบาทถ้วน) เป็นเวลา 3 ปี รวมเป็นจำนวนเงินบริจาคทั้งสิ้น 27,000,000 บาท (ยี่สิบเจ็ดล้านบาทถ้วน) เพื่อใช้ในการจัดสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นในพื้นที่ต้นน้ำและลำห้วยสาขาต่างๆ ในพื้นที่ที่พิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นและเกิดประโยชน์แก่ราษฎร
หน่วยงานรับผิดชอบ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ผลการดำเนินงาน
1. จำนวนฝายชะลอความชุ่มชื้นที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นประจำปี 2551 แล้วเสร็จรวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 825 ฝาย ประกอบด้วย ฝายแบบท้องถิ่นเบื้องต้น จำนวน 822 ฝาย และฝายคอนกรีต จำนวน 3 ฝาย ทั้งนี้ เมื่อรวมกับการจัดสร้างในปี 2550 ทำให้สามารถจัดสร้างฝายแบบท้องถิ่นเบื้องต้นได้เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,794 ฝาย และฝายคอนกรีตเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 86 ฝาย
2. พื้นที่ดำเนินงาน
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ได้พิจารณาดำเนินการจัดสร้างฝายฯ ในพื้นที่ๆ มีความจำเป็นและเหมาะสม 9 แห่ง ตามรายละเอียดดังนี้ คือ
พื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ ปุย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการจัดสร้างฝายแบบท้องถิ่นเบื้องต้น จำนวน 106 ฝาย
2.2 พื้นที่บริเวณลุ่มน้ำแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ดำเนินการจัดสร้างฝายแบบท้องถิ่นเบื้องต้น จำนวน 103 ฝาย จัดสร้างฝายคอนกรีต จำนวน 3 ฝาย รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 106 ฝาย
2.3 พื้นที่บริเวณลุ่มน้ำโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
ดำเนินการจัดสร้างฝายแบบท้องถิ่นเบื้องต้น จำนวน 80 ฝาย
2.4 พื้นที่บริเวณลุ่มน้ำงาม อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
ดำเนินการจัดสร้างฝายแบบท้องถิ่นเบื้องต้น จำนวน 87 ฝาย
2.5 พื้นที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ดำเนินการจัดสร้างฝายแบบท้องถิ่นเบื้องต้น จำนวน 8 ฝาย
2.6 พื้นที่บริเวณลุ่มน้ำแม่ทา อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
ดำเนินการจัดสร้างฝายแบบท้องถิ่นเบื้องต้น จำนวน 120 ฝาย
2.7 พื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยภูคา (หน่วยจัดการต้นน้ำปัว) อำเภอปัว จังหวัดน่าน
ดำเนินการจัดสร้างฝายแบบท้องถิ่นเบื้องต้น จำนวน 106 ฝาย
2.8 พื้นที่บริเวณลุ่มน้ำเขาค้อ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
ดำเนินการจัดสร้างฝายแบบท้องถิ่นเบื้องต้น จำนวน 100 ฝาย
2.9 พื้นที่บริเวณลุ่มน้ำมวกเหล็ก อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
ดำเนินการจัดสร้างฝายแบบท้องถิ่นเบื้องต้น จำนวน 112 ฝาย
แผนการดำเนินงานระยะต่อไป
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ได้พิจารณาที่จะขยายพื้นที่การดำเนินงานไปยังจังหวัดพะเยา และพื้นที่ต้นน้ำเหนือลำห้วยแม่ใจ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งพื้นที่อื่นที่ได้รับการร้องขอและพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความเหมาะสม ทั้งนี้ อยู่ในระหว่างการจัดทำรายละเอียดแผนดำเนินงานและงบประมาณส่งมายังสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาเพื่อพิจารณา ต่อไป